Label-1

Label-2

Label-3

การตัดตัวอักษรจากคัมภีร์ใบลาน
Handwritten Character Segmentation from Palm Leaf Manuscript

ธีรศักดิ์ อุดม
ประทีป ทองจันทร์
โอฬาริก สุรินต๊ะ
รพีพร ช่ำชอง

บทคัดย่อ
คัมภีร์ใบลานเป็นหลักฐานทางประวัิติศาสตร์ที่เก็บรวบรวมภูมิปัญญา และเรื่องราวของคนในอดีต เช่นประวัติศาสตร์ กฎหมาย หลักธรรมคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น ซึ่งคัมภีร์มีความสำคัญ และควรค่าแก่การอนุรักษ์ ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาวิธีการเพื่อที่จะอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน งานวิจัยฉบับนี้ได้เสนอวิธีการตัดตัวอักษรจากคัมภีร์ใบลาน ซึ่งเป็นตัวอักษรไทยน้อย การตัดตัวอักษรจากคัมภีร์ใบลานทำได้โดยกำจัดพื้นหลังของภาพใบลาน โดยวิธีการของออทสุ (Otsu's Algorithm) เพื่อแยกคุณลักษณะในส่วนของพื้นหลัง และส่วนของตัวอักษรออกจากกัน เพื่อที่จะนำส่วนของตัวอักษรมาแยกออกเป็นบรรทัด โดยวิธีการโปรเจคชั่น (Projection Profile) ตามแนวนอนและแนวตั้ง จากนั้นนำตัวอักษรที่อยู่แต่ละบรรทัดมาตัดตัวอักษร โดยดึงส่วนของพิกเซลที่เป็นจุดดำที่ติดกันออกมา (Connected Component) เพื่อให้ได้ตัวอักษรตามต้องการ ซึ่งได้นำภาพใบลานทั้งหมด 5 ผูก จำนวน 227 ภาพ มาทดสอบประสิทธิภาพ พบว่าความถูกต้องในการตัดบรรทัด 78.5% และความถูกต้องในการตัดตัวอักษร 71.81%

คำสำคัญ: การกำจัดพื้นหลัง, การแบ่งบรรทัด, การตัดตัวอักษร, การประมวลผลภาพ, คัมภีร์ใบลาน
Keywords: Background Elimination, Line Segmentation, Character Segmentation, Image Processing, Palm Leaf Manuscript

«
Next

Newer Post

»
Previous

Older Post


No comments:

Leave a Reply